วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

หนังสั้นคืออะไร


หนังสั้นคืออะไร และมีความเป็นมาอย่างไรในประเทศไทย
ภาพยนตร์สั้น
 หรือ หนังสั้น (อังกฤษShort film, หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Short) เป็นประเภทของภาพยนตร์อย่างหนึ่งที่เหมือนกับภาพยนตร์ทั่วไป ที่เล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงเฉกเช่นภาพยนตร์ความยาวปกติ เพียงแต่ว่าเป็นการเล่าเรื่องประเด็นสั้น ๆ หรือประเด็นเดียวให้ได้ใจความ มาตรฐานของภาพยนตร์สั้น คือ มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 40 นาที
สำหรับในประเทศไทย ภาพยนตร์สั้นเรื่องแรกเกิดขึ้นในสมัยของรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป ความยาว 1 นาทีโดยช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ (Lumiere) ของฝรั่งเศส ผู้ผลิตและพัฒนากล้องถ่ายภาพยนตร์สำคัญรายหนึ่งของโลก
ปัจจุบัน ภาพยนตร์สั้นได้รับความสนใจและตื่นตัวอย่างมาก มีผู้สร้าง ผู้ผลิตหลายรายมากขึ้น และในการแจกรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 80 ในปี ค.ศ. 2012 ที่เป็นการแจกรางวัลให้แก่ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2011 ก็เป็นครั้งแรกด้วยที่มีการแจกรางวัลให้แก่ภาพยนตร์ประเภทนี้ด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 รางวัล คือ ภาพยนตร์สั้น (Live Action) และแอนิเมชั่นสั้น (Animated)
จงวิเคราะห์ความต่างระหว่างสื่อ 4ประเภท และยกตัวอย่างประกอบ
2.1มิวสิควิดีโอ หรือ mv
 คือการถ่ายทอดบทเพลงแบบมีภาพประกอบ และพัฒนามาเป็นการการนำเนื้อหาของบทเพลงมาสร้างเป็นเรื่องราว เป็นละครประกอบเพลง ตัวอย่างเช่น mv เพลงต่างๆในยูทูป หรือตาบเว็บไซส์ชั้นนำทั่วๆไป
2.2วิดีโอพรีเซ้นท์เทชั่น คือการถ่ายทอดความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด ให้ผู้ฟังเข้าใจภายในเวลาจำกัด ตัวอย่างเช่น วิดีโอพรีเซ้นท์เทชั่นงานแต่งงาน หรือวันพิเศษต่างๆ
2.3ภาพยนตร์โฆษณา คือ การถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ เพื่อนำเสนอ ความคิดหรือการป่าวประกาศให้คนชวนเชื่อ และเข้าใจในตัวสินค้า หรือ สิ่งที่ต้องการสื่อออกไป มีความ ยาว ตั้งแต่ 30 วิ แต่ไม่เกิน 3-5 นาที ตัวอย่างเช่น โฆษณา ขาย รองเท้า keto โฆษณา ชวนกันรณรงค์ ต่างๆ 
2.4ภาพยนตร์สั้น คือก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ แต่ได้ใจความ ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือ การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอ ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา ตัวอย่าง เช่น สารคดีหนังสั้น ต่างๆ หนังสั้น ที่แฝงแง่คิด แง่มุม
กระบวนการเตรียมทำหนังสั้น
1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)
เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม
2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)
หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า...” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น
3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)
คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)
4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)
เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise)  ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
5. บทภาพยนตร์ (screenplay)
สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที
6. บทถ่ายทำ (shooting script)
คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง
7. บทภาพ (storyboard)
คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ      เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย
ทีมงานหนังสั้นมีกี่ตำแหน่ง อะไรบ้าง และมีหน้าที่อย่างไร
6 ตำแหน่ง
4.1 ผู้กำกับ คนนี้สำคัญที่สุด กำกับคือผู้ที่กำหนดทิศทางของหนังให้เป็นไปตามใจที่เขาหรือเธอผู้นั้นต้องการ 
โดยสิ่งหนึ่งที่ผู้กำกับแต่ล่ะคนจำเป็นจะต้องมี ขาดไปไม่ได้เป็นอันขาด นั่นคือสมาธิจิตจดจ่ออยู่กับงานที่ทำอยู่ตรงหน้า งานที่ว่านั้นก็หมายถึง คอยควบคุมนักแสดง กำกับให้เขาแสดงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นไปตามบทบาทที่เราได้สร้างขึ้น และยังรวมไปถึงงานอื่นๆ เช่น การดูว่าตากล้องสามารถถ่ายภาพวางมุมกล้องออกมาได้อย่างที่เคยมีการตกลงกัน ก่อนหน้านี้ไหม หรือว่าเสียงโอเคหรือเปล่า ตัวละครมีบทพูดตรงตามที่เขียนไว้ไหม?
4.2 ผู้ช่วยผู้กำกับ มีหน้าที่เป็น “แขนขา” ของผู้กำกับ เพราะในขณะที่ผู้กำกับกำลังคิดถึงงานที่อยู่ตรงหน้า ผู้ช่วยฯก็จะมาคิดถึงการทำให้งานมันเดินหน้าไปได้ หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือการลดภาระของผู้กำกับลงไป
4.3 ผู้จัดการกองถ่าย หลักๆ คือดูแลเรื่องการเงิน ว่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่ แล้วคอยให้คำแนะนำ แก่ทีมงานว่า ควรจะใช้งบเท่าไหร่เพื่อการซื้อหรือทำอะไรสักอย่าง ว่าง่ายๆ ก็คือหน้าที่ควบคุมให้ระบบการเงินในกองถ่ายราบรื่น เป็นไปด้วยความเหมาะสมตามงบที่มีอยู่ หน้าที่นี้จำเป็นจะต้องอาศัยผู้มีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน และมีสายตาที่ปราดเปรียวว่องไว เมื่อเห็นอะไรที่ผิดปรกติ 
4.4 ตากล้อง/ผู้กำกับภาพ ไม่ใช่แค่เอากล้องมาวางแล้วก็ถ่ายอย่างเดียว แต่จะต้องตีความตามบทหนังที่อ่าน และถ้ามีสตอรี่บอร์ดก็ต้องถ่ายตามนั้น โดยที่จะต้องช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อให้ได้ภาพอย่างที่ผู้กำกับต้องการ
4.5 คนบันทึกเสียง สำคัญไม่น้อยกว่าภาพเลย เพราะถ้าเสียงไม่ดีฟังที่ตัวละครพูดไม่รู้เรื่องนี้จบกัน คนบันทึกเสียงไม่ได้แค่ทำหน้าที่บันทึกเสียงอย่างเดียว แต่ยังต้องคอยช่วยผู้กำกับดูว่า ก่อนถ่ายเมื่อไปดูโลเคชั่น ก็จะบอกได้ว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับการอัดเสียงเพื่อที่จะแก้ไขได้ หรือระหว่างถ่าย ก็คอยดูว่าช่วงไหนอัดเสียงได้ไม่ได้ เพื่อที่จะสามารถทำให้ได้เนื้อเสียงที่มีคุณภาพ
4.6 ผู้กำกับศิลป์ มีหน้าที่ช่วยให้งานฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากได้ดังภาพที่ ผู้กำกับคิดไว้ ไม่ใช่แค่เอาของมาวางๆ จัดฉากเท่านั้น แต่เช่นเดียวกับตากล้อง ก็จะต้องมีดวงตาที่เห็นเหมือนผู้กำกับเช่